บันทึก |
2559-60 |
TU
Formel ยังไปต่อ...
|
2558 |
New Obstacle, ...
New Alliance
เปิดปีใหม่มาได้ไม่นาน อ.ชัยพงศ์ ก็มีเหตุต้องลาออก
ตามด้วย อาจารย์ใหม่อีกท่านที่เข้ามาทำงานให้โครงการวิศวกรรมยานยนต์
เลยต้องกลับมาใช้บริการอาจารย์ที่ปรึกษาดั้งเดิม คือ อ.บรรยงค์
และ อ.ดุลยโชติ จากนั้นก็พบกับอุปสรรคชิ้นใหญ่ คือ คณบดี
ไม่อนุมัติโครงการฯ ตั้งแต่เดือน มิ.ย.58
โดยบอกว่าต้องการให้ไปทำที่ศูนย์พัทยา
ซึ่งหลังจาอธิบายเหตุผลต่างๆแล้วก็ดูเหมือนจะหมดเรื่อง แต่ปรากฏว่า
คณบดีก็ยังไม่อนุมัติโครงการฯ
โดยสั่งให้เปลี่ยนอาจารย์ที่ปรึกษาโดยไม่ให้เหตุผล
อ้าว...เอาไงหละ อาจารย์ที่รู้เรื่องการแข่งขันนี้ ก็มีกันอยู่แค่นี้
สุดท้ายก็ต้องยอมเปลี่ยนอาจารย์ที่ปรึกษา เป็น ผศ.ดร.
ชาญณรงค์ อัศวเทศานุภาพ
แต่เรื่องก็ลากยาวมาถึง ธ.ค. 58 จึงอนุมัติโครงการ และงบประมาณ
ยังดีที่ปีนี้เลื่อนแข่งเป็น ม.ค. 59
แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นก็ใหญ่หลวงนัก
เพราะทำให้งานล่าช้าไปหลายเดือนจนมีแนวโน้มว่าจะเสร็จเช้าวันแข่งอีกตามเคย
แม้จะมีอุปสรรค แต่ก็มีสิ่งดีๆเกิดขึ้นคือ
สมาคมศิษย์เก่าวิศว มธ. ยื่นมือเข้าช่วยระดมทุนสนับสนุน และยังมีทีม
SIIT Automech
มาร่วมกันทำงานแข่งกับเวลา และมีผู้สนับสนุนภาคเอกชนอีกหลายราย
...รอลุ้นกันต่อไปว่าจะทำทันหรือไม่
เอาอีกแล้ว...ตีสามวันแข่งยังทำไม่เสร็จเลย
|
2557 |
TU
Formers Reborn
ปีนี้ทีมแข่งกลับมาเกิดใหม่ในนาม TU Formel
โดยมีนักศึกษาชั้นปีที่ 3 เป็นกำลังหลัก
ทำงานเป็นกิจกรรมนักศึกษา 100%
แถมยังได้อาจารย์ที่ปรึกษารุ่นใหม่ไฟแรง อ.ชัยพงศ์ ลิมปานนท์
ที่ศึกษาทาด้าน Motorsport มาโดยตรง ผลก็คือ
"น้องปี 3"
ทำรถไปแข่งกับเขาได้อย่างสนุก
แม้ตอนท้ายปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงจะกลับบ้านเก่าไปก่อน
แต่ก็ยังแข่งจนจบการแข่งขันได้อย่างหวุดหวิด....
ปีหน้ามีเฮแน่เลย
|
2556 |
Leave Year
ปี 2556 เป็นช่วงเปลี่ยนถ่าย
จากการทำทีมแบบเป็นส่วนหนึ่งของวิชาโครงงาน ให้เป็นการทำทีมแบบสมัครใจ
ไม่มีเกรด รองรับ งานนี้เลยสะดุดเล็กน้อย ไม่มีคนทำงาน
TU Former V เลยมีแต่เฟรม
|
พ.ย. 55 |
TU Formers IV
เสร็จช้ากว่ากำหนด ทำให้เข้าร่วมการแข่งขันในสภาพที่ไม่พร้อม
สุดท้ายเราไม่ผ่านการทดสอบเบรก เนื่องจากการเซ็ตช่วงล่างด้านหน้าอ่อนเกินไป
ปีนี้จึงเป็นปีแรกที่เราไม่ได้แข่งใน Dynamic Event
ปีหน้าว่ากันใหม่
|
ม.ค. 55 |
ขนรถที่ทำเสร็จไปแล้ว 90%
กลับมาที่คณะฯซึ่งมีไฟฟ้าใช้แล้วบางส่วน แต่
Workshop เครื่องกลยังไม่มีไฟฟ้า จึงขอความอนุเคราะห์สถานที่จาก
ภาคฯเคมี ทำงาน 24 ชม. จนถึงเช้าวันแข่ง (วันที่ 8 ม.ค.)
แล้วยกไปสนามแข่งเลย โดยสามารถผ่าน
inspection ได้ในบ่ายวันที่ 9 ม.ค. และได้ลงแข่งในรายการ
Autocross และ ในวันถัดไปได้ลงแข่ง
Endurance ในกลุ่มนำ
แม้ว่าผลการแข่งขันจะไม่สวยหรูตามที่ตั้งเป้าไว้
แต่ต้องถือว่าประสบความสำเร็จสุดๆ (ต้องโทษน้องน้ำ)
|
12
ธ.ค. 54 |
การสร้างรถ TU Formers 3
ต้องขนย้ายไปทำต่อที่โรงงาน HHP
ในจังหวัดระยองซึ่งให้ความอนุเคราะห์สถานที่ และเครื่องมือ
คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณวันที่ 7 ม.ค.
55 (แข่งวันที่ 8
ม.ค.)
|
24
ต.ค. 54 |
Worst Case
Scenario?
สอบยังไม่ทันจะเสร็จ
ก็เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายสิบปี
Workshop เครื่องกล สถานที่สร้างรถ
TU Formers 3 ถูกน้ำท่วมสูงกว่า
1 เมตร
ทำให้เครื่องจักรทั้งหมดได้รับความเสียหาย รวมทั้งรถแข่ง
TU Formers 1 และ
2 (แม้จะยกขึ้นไว้ 50
ซมแล้วก็ตาม) โชคดีที่รถแข่งคันใหม่ตั้งอยู่บนรถกระบะอีกที
เลยไม่ได้รับความเสียหาย แต่งานก็ล่าช้าไปมาก เนื่องจาก
น้ำเพิ่งจะแห้งเมื่อปลายเดือน พ.ย. และ Workshop
จะไม่มีไฟฟ้าใช้ไปถึงปีหน้าเลย
|
3 ต.ค. 54 |
หลังจากนั่งทำ Cost Report
หามรุ่งหามค่ำมา ตลอดเดือน ก.ย. (งวดนี้มีห้องแอร์
ไม่ต้องโดนยุงกัดแล้ว)
ในที่สุดก็ทำเสร็จ ส่งออกไปได้ตามกำหนด จากนี้ทุกคนก็ลาไปสอบปลายภาค
ชิ้นส่วนต่างๆตอนนี้รออยู่ในตู้แล้ว
สอบเสร็จค่อยกลับมาประกอบรถอีกที
|
4 ส.ค. 54 |
สมาชิกทีม TU
Formers 2 แวะมาทักทายอาจารย์
ในโอกาสที่กลับมาซ้อมรับปริญญา ได้งานดีๆกันทั้งนั้น
|
มิ.ย. 54 |
หายไปพักใหญ่ บ้างก็ไปฝึกงาน บ้างก็ไปทำรถแข่ง
Bosch Cordless Racing
ในที่สุดก็ได้ฤกษ์ลงมือขึ้นโครงรถ
|
12 ม.ค.
54 |
Keep it rolling
ประชุมทีม TU Formers 3
ปีนี้มีสมาชิกจากทั้งนักศึกษาภาคปกติ
และนักศึกษาภาคภาษาอังกฤษ
ประชุมเสร็จก็แยกย้ายกันไปตามอัธยาศัย
เอาไว้ว่างๆค่อยมาเริ่มงาน
|
10
ธ.ค. 53 |
Reward of Hard work
แก้งานทั้งคืนรถเสร็จตอนเช้าวันแข่งพอดี ตรวจผ่าน
แข่งจบ แต่มีปัญหาทางเทคนิคเวลาออกมาไม่ค่อยดี แถมโดนหักคะแนน
Cost ติดลบ 100 คะแนน เพราะรายงาน cost ไม่ละเอียดพอ (จุดนี้ไม่แฟร์ เพราะต่อให้ไม่ส่งรายงานก็หัก 100 เท่ากัน ตรงนี้ทางเราถือว่ากรรมการบกพร่อง) เลยได้คะแนนเป็นที่ 14
เหมือนเดิมเป๊ะ แต่คราวนี้เราเป็น 1 ใน 5 ทีม ที่ได้ถ้วยรางวัลกลับบ้าน
(Best Fuel Economy) แถมนักขับหญิง
หนึ่งเดียวในงาน ก็ยังได้รางวัลพิเศษจากท่านอาจารย์พูลพรด้วย
We are happy. ดูรายละเอียดผลการแข่งขันได้ที่นี่...
|
5 ธ.ค. 53 |
ถือฤกษ์มงคลวันเฉลิมฯ ทดสอบรถ
เก็บงานอีกนิดหน่อยเราก็พร้อมแข่งแล้ว
นับเป็นโชคดีที่ผู้จัดเลื่อนการแข่งขันจากเดิมปลาย พ.ย. เป็นวันที่
10-12 ธ.ค. 53 ไม่งั้นรถเสร็จไม่ทันแน่ๆ
|
30 พ.ย. 53 |
จวนเสร็จแล้ว เหลือสิ่งที่ต้องทำอีกร้อยกว่ารายการ
อีกเดี๋ยวก็ลองวิ่งได้แล้ว
|
26 ต.ค. 53 |
ต้องขอขอบคุณภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการที่ช่วยผลิตชิ้นสำคัญด้วยเครื่อง
CNC ตอนนี้สอบเสร็จแล้ว ปิดเทอม
ทำงานกันได้เต็มที่ อีกไม่กี่วันก็คงเสร็จ
|
3
ก.ย. 53 |
TSAE แจ้งว่าผลการทดสอบ
IA ของเราไม่ชัดเจน
ไหนๆก็ต้องส่งรายงานใหม่แล้วเลยออกแบบ IA
ใหม่อีกรอบโดยทำจากวัสดุเหลือใช้ เพื่อลดโลกร้อน
คราวนี้เลยทดสอบเต็มรูปแบบ ทั้ง static
และ dynamic tests เลย
พอตกดึกมีข่าวดี เครื่องติดแล้ว เสียงคำรามทรงพลังมาก
ต้องขอขอบคุณพี่ xxx จาก
rrr ที่มาช่วยชี้ทางสว่างให้
แค่นั้นยังไม่พอ
ปีนี้เราทำการปรับปรุงระบบไฟแสงสว่างของอาคารปฏิบัติการ
ทำให้ความสว่างเพิ่มขึ้น 3 เท่า เพื่อเปลี่ยนกลางคืนให้เป็นกลางวัน |
|
|
6 ส.ค. 53 |
This is ENGINEERING
การออกแบบกันชน (Impact Attenuator
- IA) เริ่มด้วยการทดลอง Hydraulic Press
เพื่อช่วยในการเลือกวัสดุ
จากนั้นทางทีมต้องใช้งบประมาณและทรัพยากรจำนวนมากในการสร้างชุดทดสอบการชน
ด้วยการทิ้งมวล 300 กก. จากความสูง 2.5 เมตร ลงมายัง
IA
เราได้ออกแบบ IA จำนวน 3 แบบ เพื่อมาทดสอบการชน และนำผลมาปรับเปลี่ยนรูปแบบ
จนในที่สุดได้รูปแบบของ IA
(ที่ไม่สามารถเปิดเผยได้) ซึ่งสามารถลดแรง กระแทกสูงสุดเหลือไม่ถึง 40g
โดยมีค่าเฉลี่ย
อยู่ที่ประมาณ 10g
ขอขอบคุณภาควิชาวิศวกรรมโยธาที่เอื้อเฟื้อ บุคคลากร วัสดุ
เครื่องมือ และสถานที่ และ
ขอบคุณ นศ. ป.โท จากห้องปฏิบัติการ APPLY มาที่ช่วยเก็บข้อมูลความเร่งด้วยเครื่อง DEWETRON
DEWE-800 |
ชมภาพถ่ายจากกล้องความเร็วสูงได้ที่นี่:
TUFormers_Impact_Attenuator.wmv |
|
5 ส.ค. 53 |
สมาชิกทีม TU
Formers 1 แวะมาทักทายอาจารย์ ในโอกาสที่กลับมาซ้อมรับปริญญา บางคนก็ไปทำงาน
บางคนก็เรียนต่อ
|
ก.ค. 53 |
สร้างเฟรมจำลองขนาด 1:1
และเริ่มขึ้นเฟรมจริง
|
มิ.ย. 53 |
เมื่อเวลาผ่านไป นักศึกษาปี 3 ก็กลายเป็นปี 4
ที่ตอนนี้เราเรียกว่า TU Formers 2 แล้ว
งานออกแบบเดินหน้าอีกครั้งอย่างช้าๆ มีการแก้แบบกันอีกหลายรอบ
|
มี.ค. - พ.ค. |
สมาชิกรุ่น 1 เรียนจบออกไปทำงาน
ส่วนสมาชิกรุ่น 2 ก็ไปฝึกงานฤดูร้อน ทุกอย่างหยุดชั่วขณะ
แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีนักศึกษาจากโครงการ TEP&TEPE
ปี 2 ตั้งทีมขึ้นมาทำรถอีกคัน
|
16 ก.พ. 53 |
ประชุมทีมแบ่งงานกันอีกครั้ง
ที่ผ่านมานักศึกษาปี 3 ว่าที่ TU Formers
2 ได้แบ่งกันไปศึกษากติกา SAE
Student Formula 2010 เป็นที่เรียบร้อย อย่างไรก็ตาม
งานออกแบบยังไม่มีความคืบหน้า สมาชิก
TU Formers 1 ได้ฤกษ์ กลับมาเริ่มงานอีกครั้ง
โดยเริ่มด้วยการปรับแต่งช่วงล่างของรถแข่งคันเก่าให้สูงขึ้นจากเดิม
เพื่อให้สามารถวิ่งบนถนนภายในมหาวิทยาลัยได้
แล้วก็ช่วยแนะนำแนวทางการออกแบบให้รุ่นน้อง
|
15 ก.พ.
53 |
เครื่องยนต์ Kawasaki Ninja ZX6R
2007 เดินทางมาถึงคณะฯ
แต่ก็ยังไม่ได้ทำอะไรกับมัน (ขาดเซนเซอร์วัดความดัน
เซ็นเซอร์รถเอียง และสวิทช์กุญแจ)
|
2
ธ.ค. 52
|
New
Generation
เตรียมทำรถคันใหม่เข้าแข่งในปีหน้า ประชุมทีมใหม่เป็นครั้งแรก มีนักศึกษาชั้นปีที่ 3
ให้ความสนใจเข้าร่วมกว่า 20 คนเพื่อรับช่วงต่อ งานนี้นักศึกษาปี 4
ที่มีประสบการณ์จากการแข่งขันครั้งที่แล้วจะเป็นพี่เลี้ยงในช่วงแรก |
|
|
21-23 พ.ย. 52
|
Great Start!
ร่วมแข่งขันในรายการ TSAE
เป็นครั้งแรก ด้วยเครื่องยนต์ 400cc
สามารถทำผลงานเป็นอันดับที่ 14 จาก 31 ทีม ดูเหมือนงั้นๆ แต่จริงๆแล้ว
ถือเป็นความสำเร็จอย่างสูง เพราะสมาชิกในทีมบางคน
ตอนแรกไม่รู้เรื่องรถและยังขาดทักษะการใช้เครื่องมือ
แต่ในที่สุดสามารถสร้างรถแข่งให้วิ่งได้เร็วพอควร
แข่งจนครบทุกรายการโดยรถไม่เสีย
และยังได้อันดับเหนือกว่าทีมปีแรกทุกทีม และทีมเก่าอีก 14 ทีม
คลิ๊กที่นี่เพื่อดูรายละเอียด
>>
|
พ.ค.-พ.ย. 52 |
ช่วงแรกงานไม่ค่อยเดิน
แต่งานก็มาเข้มข้นขึ้นเมื่อใกล้วันแข่ง จนในที่สุด 6 โมงเช้าวันที่ 21
พ.ย. รถก็เสร็จพอดี ยกขึ้นรถไปสนามเลย
|
มี.ค. 52 |
Where it all begin
เรื่องนี้เริ่มต้นเมื่อ ผศ. ดร. วิโรจน์ ลิ่มตระการ
มาบอกอาจารย์ในภาคฯว่า เราน่าจะเข้าร่วมการแข่งขัน
TSAE Auto Challenge ซึ่งเป็นกิจกรรมของนักศึกษา ในการออกแบบ
สร้างรถแข่ง และนำเข้าแข่งขัน กันระหว่างสถาบันอุดมศึกษา ที่เขาทำกันมา
5 ปีแล้ว กิจกรรมนี้จะช่วยพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาเรา ฯลฯ ....
แล้วก็มีคนเห็นด้วย
หัวหน้าภาคฯก็เลยติดประกาศรับสมัครนักศึกษาที่สนใจ ...
แล้วพวกเขาก็มากัน...ทุกคนชอบ Transformers
มากๆ เลยตั้งชื่อทีมว่า TU
Formers |
|
|