นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ คว้า 2 รางวัลจากโครงการประกวดนวัตกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 5 
ในงาน มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 31


บริษัท สื่อสากล จำกัด ผู้จัดงาน "มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 31" จัดการประกวดผลงานนวัตกรรมยานยนต์ ของ นักเรียน นิสิต นักศึกษา จากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ โดยเป็นนวัตกรรม หรือสิ่งประดิษฐ์เกี่ยวกับยานยนต์ เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เพื่อการประหยัดพลังงาน, เพื่อความปลอดภัย, เพื่อแก้ปัญหาภัยพิบัติ และเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบนท้องถนน และได้คัดเลือกผลงาน พร้อมประกาศผลการประกวดและมอบรางวัลไปเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 57

การประกวดครั้งนี้ ไม่มีทีมใด ได้รับรางวัลชนะเลิศ เพราะระดับคะแนนไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ของรางวัลชนะเลิศ ซึ่งผลการประกวดปรากฎว่าผลงานจาก ห้องปฏิบัติการออกแบบและพัฒนาต้นแบบทางวิศวกรรมอย่างสร้างสรรค์ (CED2) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คว้า 2 รางวัล ดังนี้

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ผลงาน "BACKPACKING - รถไฟฟ้าที่สามารถพับเป็นเป้สะพายหลัง" โดย นส. วิจิตรา เสริมจันทร์ และนายณัฐพงษ์ ศินารา มี รศ.ดร. ดุลยโชติ ชลศึกษ์  เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้รับ โล่เกียรติยศ และประกาศนียบัตร พร้อมทุนการศึกษา 25,000 บาท

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ผลงาน "POWER ASSIST WHEELCHAIR" โดย นส. พรรณพัชร วงศศ์ผั้น ะนายกษิดิ์เดช เกษมณี  นายพงษ์สิทธิ์ มิสา และ นายอาทิตย์ บริบูรณ์ศักดิ์ มี ผศ.ดร.บรรยงค์รุ่งเรืองด้วยบุญ และ อ. ดร. ธนันต์ ยมจินดา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้รับ โล่เกียรติยศและประกาศนียบัตร พร้อมทุนการศึกษา 10,000 บาท


ขอบคุณภาพประกอบจาก
www.motorexpo.co.th
www.thailandexhibition.com

www.thaipr.net



BACKPACKING


POWER ASSIST WHEELCHAIR

 

     


BACKPACKING
- รถไฟฟ้าที่สามารถพับเป็นเป้สะพายหลัง
เป็นผลงานต้นแบบที่พัฒนาต่อยอดมาจากแบบแนวคิด "SPEEDPACK" โดย
นายจักรพงษ์ ทรัพย์พลอย และ นายภาณุพงษ์ เปรมประเสริฐ ซึ่งได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 จากการแข่งขันการออกแบบ 3 มิติ ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ครั้งที่ 1 ภายใต้หัวข้อ “นวัตกรรมพาหนะแบบพกพาสำหรับคนเมือง" จัดโดยบริษัท แอพพลิแคด จำกัด เมื่อเดือน ธ.ค. 2556

BACKPACKING มีโครงสร้างทำจาก Aerospace Grade Aluminum Alloy ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ Brushless ขนาดเล็กแต่มีกำลังสูง สามารถทำความเร็วเดินทางเฉลี่ยที่ 15 กม./ชม. ทำงานต่อเนื่องได้ไม่ต่ำกว่า 1 ชม. ขณะนี้อยู่ในระหว่างการปรับปรุงจุดยึด และกลไกการพับให้ทำงานได้สะดวกรวดเร็วขึ้น คาดว่าต้นแบบที่สมบูรณ์จะมีน้ำหนักพร้อมวิ่งที่ประมาณ 7 กก.


 

 

 Last update 11/07/2560

ดุลยโชติ ชลศึกษ์
ห้อง 410 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ต. คลองหนึ่ง อ. คลองหลวง จ. ปทุมธานี 12120
โทร 0-2564-3001 ต่อ 3149  โทรสาร 0-2564-3023  อีเมล cdulyach@engr.tu.ac.th